นวัตกรรมใหม่ จุลินทรีย์ สร้างปุ๋ยในดิน

Sunday, September 12, 2010


 
นวัตกรรม"จุลินทรีย์ใหม่"สร้างปุ๋ยในดิน
วันที่ : 15 สิงหาคม 2553
หมวด สาระน่ารู้" กลุ่ม การใช้จุลินทรีย์กับการเกษตร

     ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์กลายเป็นกระแส และเป็นทางเลือกของการเกษตรทั่วโลก รวมทั้งไทยที่กำลังขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ และแม้เราจะขับเคลื่อนมานาน แต่ก็ยังไม่ได้รับกระแสขานรับที่ดี ปัจจัยหลักอยู่ที่ราคาสารเคมีเกษตรพุ่งขึ้นจนเกินขีดความสามารถของเกษตรกร ทำให้หลายรายหันไปหาเกษตรอินทรีย์ที่ต้นทุนต่ำกว่า ไม่มีพิษภัยต่อตัวเองและผู้บริโภค หน่วยงานหลักในการฟื้นฟูดินก็คือกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งพบว่าสภาพดินที่ใช้สารเคมีได้รับผลกระทบมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน "งานใหญ่ของกรมคือเฟ้นหาจุลินทรีย์ในดินที่มีความสามารถย่อยสลายซากพืช เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน รวมถึงฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งกรมได้เริ่มโครงการและประสบความสำเร็จ ปี 2529 พบจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายซากพืชได้ดี และแปรจุลินทรีย์ในรูปสารเร่งพด.1 ซึ่งเป็นฐานสำคัญในเวลาต่อมาในการเฟ้นหาจุลินทรีย์ที่หลากหลาย" ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมพัฒนาที่ดิน แจง พร้อมระบุว่าไม่เพียงแต่กลุ่มเกษตรกรนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.ประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่ยังต่อยอดขยายสู่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะในครัวเรือน ขณะที่ภาคเอกชนไม่น้อย เริ่มหันมาสนใจงานวิจัยจุลินทรีย์เพื่อนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตน ล่าสุด รองฯ ฉลอง ยอมรับว่า กรมยังมีเป้าหมายใช้จุลินทรีย์สร้างโรงปุ๋ยหรือธาตุอาหารในดินโดยตรง โดยกำลังวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยปมรากถั่วอีกต่อไป เท่ากับเป็นการสร้างโรงปุ๋ยขึ้นในดินนั่นเอง ทั้งนี้ ปัจจุบันการเพิ่มธาตุอาหารในดินกระทำโดยใช้จุลินทรีย์ไปย่อยสลายซากพืช หรือไม่ก็ปลูกพืชตระกูลถั่วที่ตรึงไนโตรเจนได้ แล้วไถกลบ
     กระบวนการวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่เริ่มบ้างแล้ว โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถดึงไนโตรเจนได้เอง จากนั้นใช้กระบวนการฟิวชั่น (Fusion) หรือใช้เซลล์ของจุลินทรีย์ผนวกด้วยกัน เพื่อสร้างจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ และคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติตามต้องการ เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมที่มีอยู่ในดินแล้ว แต่ไม่สามารถปลดปล่อยให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ก็ต้องพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อมาใช้ในการนี้ด้วย" รองฯ ฉลอง แจง ถ้าธาตุอาหารหลักในดินที่จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่สร้างได้ครบ ทั้งไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ก็เท่ากับเรามีโรงงานสร้างปุ๋ยในดินโดยตรง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยอย่างมาก

ที่มา : คมชัดลึก 15/8/53
การวิจัย “ จุลินทรีย์ ”
ที่มาของผลิตภัณฑ์
จากการวิจัยของ ดร. จรูญเกียรติ ภัทรมนตรีสิน ซึงปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค้นพบว่า จุลินทรีย์ มีการขยายพันธุ์แบบ ทวีคูณ และจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 และจาก 4 เป็น 16 ................. เรื่อยๆ ไป หากจุลินทรีย์เริ่มต้นที่ 100 ตัว จะขยายพันธุ์แบบทวีคูณ 100 X 100 เป็น 10,000 ตัว และ เพิ่มเป็น Double Timing คือ เป็น 100,000,000 ตัว โดยใช้เวลาเพียง 4-6 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งนำมา เพาะเชื้อ ในถังเพาะเชื้อที่ถูกต้องพร้อมทั้งได้รับอาหารที่ดี
ดังนั้น ดร. จรูญเกียรติ ( เคยเป็นหมอดิน ) ได้นำ จุลินทรีย์ จาก ดิน ที่มีความสมบูรณ์ในพื้นที่ ป่าร้อนชื้นในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น มาคัดเลือกเฉพาะ จุลินทรีย์ สายพันธุ์ที่ดีๆ และ แข็งแรง และ มีประโยชน์ต่อ พืช ซึ่งในปัจจุบันมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยนำมา เพาะพันธุ์ และ สร้างความสมบรูณ์ ให้ตัวเชื้อ จุลินทรีย์ และ นำอาหาร คือ โมลาส มาวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่ม

ผลิตภัณฑ์
หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ค้นพบและได้รับการพัฒนานี้มี ขนาดเล็ก ไม่ใช่ ระดับ มิลลิเมตร ( 1 ใน 1,000 ) และไม่ใช่ ระดับ ไมโครเมตร ( 1 ใน 1,000,000 )หรือ(ปุ๋ยชีวภาพ EM ทั่วไป) หากแต่เป็น หัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีขนาดเล็กมากๆใน ระดับ นาโนเมตร (1 ใน ล้านล้าน) ที่ได้มาจากการใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงระบบ นาโน

ขยายความให้เข้าใจก็คือ จุลินทรีย์นาโน
1 ) มีขนาดเทียบเท่ากับความกว้าง 1 ใน 50,000 ส่วนของเส้นผมของคนเรา
2 ) เป็นจุลินทรีย์ที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรในเขตร้อนชื้น
3 ) เป็นจุลินทรีย์ที่มีความเข้มข้นของเชื้อสูง ถึง 1 ล้านล้านเซลล์ ต่อ กรัม หรือ มิลลิลิตร
( ซี.ซี. ) แห่ง เดี่ยวใน ประเทศไทย


คุณสมบัติพิเศษของหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น

1 ) เป็นสารอาหารครบถ้วนที่พืชต้องการ จากจุลินทรีย์ที่ตายแล้วกลายเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า ของพืช เพราะว่าตัว จุลินทรีย์ มีอายุประมาณ 2 – 3 วันนับจากวันที่ผสมพันธุ์เมื่อตายไป
ซากของตัวจุลินทรีย์ จะเป็นทั้ง
แหล่งอาหารหลัก พวกแร่ธาตุต่างๆ ( N-P-K ) ที่พืชต้องการ
แหล่งอาหารรอง SOP เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่
2 ) เป็นตัวช่วยย่อยสลายสารอาหารของพืช
3 ) สามารถควบคุมเชื้อโรค และ ตัดการเจริญเติบโตของแมลง เช่น เพลี้ยะกระโดด เป็นต้น
เนื่องจากจุลินทรีย์เมื่อลงในดินจะเข้าไปกินไข่ของแมลงเป็นอาหารซึ่งเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงศัตรูพืช
4 ) สามารถช่วยบำรุงดินให้สมบรูณ์
5 ) ช่วยย่อยสลายน้ำเสียตามธรรมชาติได้ดี
ดังนั้นเมื่อพืชได้สารอาหารที่ครบถ้วนไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวนเนื่องจากลำต้นแข็งแรงไม่สามารถกัดกินลำต้นได้ดินก็สมบรูณ์น้ำก็ดีกลับคืนสู่ธรรมชาติ พืชก็จะแข็งแรงไม่อ่อนแอโตไวให้ผลผลิตสูง

ชนิดของผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกเป็น 4 ชนิด
1 ) สำหรับ.....พืช
- สูตร กลาง หรือสูตรดิน ใช้สำหรับ พืช และ ผลไม้ ทุกชนิด เหมาะสำหรับเกษตรทุกพื้นที่ ได้ผลประมาณ 80%
- สูตรเฉพาะ ข้าว - สูตรเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ - สูตรเฉพาะไม้ผล
- สูตรเฉพาะ ปาล์ม - สูตรเฉพาะสำหรับพืชผัก - สูตรเฉพาะกาแฟ
- สูตรเฉพาะ ยางพารา - สูตรเฉพาะอ้อย มันสำปะลัง - สูตรเฉพาะลิ้นจี่
- สูตรเฉพาะ ลำไย - สูตรเฉพาะต้นตะกู
- สูตรเฉพาะพืชไฮโดร โพนิก
- สูตรเฉพาะ ข้าวโพด - สูตรเฉพาะสนามกอล์ฟ - สูตรเฉพาะเห็ด
- สูตรเฉพาะ ย่อยสลายตอข้าว
clip_image002clip_image004





2 ) สำหรับ.....สัตว์
- เช่น หมู ไก่ เป็นต้น โดยการผสมในอาหารให้สัตว์กิน จะช่วยให้ระบบการย่อยของสัตว์ทำการย่อยอาหารได้ดีกว่า
เดิม สัตว์เจริญเติบโตดี ถ้าเป็น หมู จะช่วยให้เนื้อหมูมี สีแดง และ ช่วยลดกลิ่นในคอกได้ดี
- สูตรสำหรับสัตว์โพรไบโอติค nano probiotic (ไม่ต้องใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ)
3 ) สำหรับ.....บำบัดน้ำเสีย
- ใช้สำหรับโรงงานที่มีของเสียเป็น จุลินทรีย์ ชนิดไม่ดี เช่น โรงงานผลิตกุ้งแช่แข็ง โรงงานน้ำตาล โรงงานทำแป้งมันสำปะหลัง โรงงานผลิตสุรา เป็นต้น
- สูตรสำหรับย่อยสลายไขมัน
- สูตรสำหรับบำบัดน้ำเสีย
- สูตรย่อยสลายและดับกลิ่นขยะ
4) สูตรสำหรับกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ไม่ต้องใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ)

การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์

หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น
- ได้รับการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจากสถาบันที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย
โดยทำการตรวจสอบ
ผลิตภัณฑ์
- มี คุณภาพ และ คุณสมบัติ ตามที่ระบุหรือไม่
- มีตัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชและปริมาณชนิดของเชื้อตามที่ระบุหรือไม่




สถาบันที่ตรวจสอบและรับรอง

- สถาบันบริการผลิตภัณฑ์และการตรวจสอบ เทคโนโลยี่ชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่
- มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
- สถาบันอาหารแห่งชาติ
- กรมวิชาการเกษตร
วิธีการใช้สำหรับมันสำปะหลัง

clip_image006clip_image008clip_image005

การเตรียมดิน
ทำการไถกลบและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อนและทำลายวัชพืชต่าง ๆ ให้ลดจำนวนลง ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน ถ้าดินระบายน้ำไม่ดี ต้องยกร่องปลูก และทำการให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ NANOสูตรสำหรับมันสำปะหลัง พร้อมด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมเข้ากับน้ำในอัตราสัดส่วน 1:1000-1300 ลิตร เป็นเวลา 4-6 ชั่วโมงหรือ 1 คืน (12 ชม.) แล้วน้ำรดหรือฉีดพ่นบริเวณแปลงที่ทำการปลูกมันสำปะหลังในอัตรา 1 ชุดต่อ 5-7 ไร่เพื่อเป็นการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช เพื่อป้องกันโรคเน่าและลำต้นเน่าของมันสำปะหลังเช่น เชื้อ Fusarium sp., Rhizoctonia sp. และ Pythium sp., เชื้อ Phytophthora sp. เป็นต้น และเป็นการช่วยย่อยสลายเศษซากพืชและอินทรียวัตถุที่สะสมในดินช่วยปรับสภาพดิน ลดความเป็นกรด ทำให้ดินร่วนซุย
ลักษณะดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือ รากที่มีการสะสมอาหารเจริญเติบโต ได้ดีในดินร่วนปนทราย สภาพดินที่ไม่มีน้ำขัง มีการระบายและอากาศดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)ระหว่าง 5.5 -8.0 มีความต้องการปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 10 -20 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 10 – 30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 500 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี
การปลูกมันสำปะหลัง
โดยคัดเลือกต้นพันธุ์มันสำปะหลังที่สมบูรณ์มีอายุแก่ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป ตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15 – 20 เซนติเมตร แล้วนำไปแช่ในหัวเชื้อจุลินทรีย์ NANOสูตรสำหรับมันสำปะหลัง พร้อมด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมเข้ากับน้ำในอัตราสัดส่วน 1: 500 หรือ 1:1000 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดิน เพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่สะดวกต่อการกำจัดวัชพืช ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์

การดูแลรักษา
ทำการฉีดพ่นปุ๋ยNANO พร้อมด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมเข้ากับน้ำในอัตราสัดส่วน 1:1000 เป็นเวลา 4-6 หรือ 12 ชั่วโมง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังหลังการฉีดหรือรดจุลิน ทรีย์ NANO สูตรสำหรับมันสำปะหลังแล้วควรรดน้ำตามด้วยเพราะน้ำทำให้จุลินทรีย์ลงไปเร่งการเจริญเติบโต ของมันสำปะหลังต้องการน้ำเพื่อความชุ่นชื้นของดินในการปลูกมันสำปะหลัง ภายหลัง15วัน หลังจากนั้น ทำการใส่จุลินทรีย์ NANO สูตรมันสำปะหลัง ในทุก 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว และควรมีการตัดแต่งลำต้นให้เหลือใบน้อยที่สุดช่วงที่มันเริ่มลงหัวหรือเลี้ยงยอดมันสำปะหลังให้เหลือเพียง 1 – 2 ยอดเท่านั้น เพราะไม่ต้องการเลี้ยงลำต้นมากนะแต่ต้องการให้เลี้ยงที่ หัวมันสำปะหลังมากกว่าและจะสามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ ประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์และลดการฉีดฆ่าแมลงลงได้
หมายเหตุ
- ควรมีการรดน้ำทุกครั้งที่ใส่จุลินทรีย์ NANO สูตรสำหรับมันสำปะหลัง และสังเกตจากความชื้นของดินถ้าดินมีความชื้นดีก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำก็ได้
- ครั้งแรกในการใช้ ทุก 15-20 วันควรรดจุลินทรีย์ เพื่อเติมจุลินทรีย์ลงดิน
- ถ้าต้องการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวต้องให้จุลินทรีย์เช่นเดียวกับพืชผัก ทุก 10-15 วัน พร้อมให้น้ำ

No comments:

Post a Comment