การปลูกยางพารา

Monday, November 29, 2010

การปลูกยางพาราให้ประสบผลสำเร็จ

ยางสวย
ปลูกยางอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ
     ยางพารา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อหวังผลผลิตในระยะยาว จนอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป หากเกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแต่เกษตรกรเองที่ต้องสูญเสียเงินที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเวลาและโอกาสแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างน่าเสียดาย การปลูกยางเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วัสดุปลูก วิธีการปลูกตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชคลุม การตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ
     คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การปลูกสร้างสวนยางเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง เสียก่อน เพราะปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
เกษตรกรจึง ควรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โดยให้พิจารณาในเรื่องของดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศา
ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี
หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าว นอกจากต้นยางจะเจริญเติบโตไวแล้ว ยังให้ผลผลิตสูงและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง
สวนยางที่เพิ่งปลูกใหม่และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
     การแก้ไข เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าจะปลูกยางให้ประสบผลสำเร็จสูง เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโต เปิดกรีดได้เร็วขึ้นนั้น มีขั้นตอนการปลูกยาง ดังนี้
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
     โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
     กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
     ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
      ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
วิธีปลูกยางพารา
       การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
      น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้
      การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
      คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย
      หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181, 522, 501 ได้ในเวลาราชการ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
คุณ พรรณพิชญา สุเสวี
เทคโน
วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 450
พบกับผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับยางและวิธีทำเงินสองต่อง่ายๆกับเราที่ 0892083459

พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกร
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235  
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121 
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
       ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่น อยู่ในบริเวณห่างจากลำต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การ ดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณ ที่มีรากดูดอาหาร หนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลม รอบลำต้น ส่วนต้นยาง ที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว ไปให้แถวยาง ห่างจากโคน ต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่าง จากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยาง ที่เปิดกรีด แล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
บริเวณที่ใส่ปุ๋ยให้ต้นยางก่อนเปิดกรีด
โรคและแมลงศัตรูยางพารา
1. โรครากขาว
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่
ลักษณะอาการ
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน
การป้องกันและรักษา
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด
โรครากขาวได้
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย

2. โรคเส้นดำ
Picture30
ยางพาราหน้ายางตาย
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น
ลักษณะอาการ
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้
การป้องกัน
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา
การรักษา
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย

3. โรคเปลือกเน่า
Picture27
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้
ลักษณะอาการ
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ
การป้องกัน
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น

4. โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย
ลักษณะอาการ
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา
การป้องกันและรักษา
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก

5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า
 Picture26
ลักษณะอาการ
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย
การป้องกันและรักษา
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น

6. ปลวก
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู
การป้องกันและรักษา
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง

7.   หนอนทราย
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้ สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย

8. โคนต้นไหม้
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย
การป้องกันและรักษา
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล

9. อาการตายจากยอด
 Picture29
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี
ลักษณะอาการ
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน
การป้องกันและรักษา
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

ธุรกิจง่ายๆถูกต้องตามกฏหมายที่ชาวไร่ก็มีเงินเดือนได้คลิ๊กที่นี่หรือโทร 0892083459
พบกับผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับยางและวิธีทำเงินสองต่อง่ายๆกับเราที่ 0892083459

แนะนำช่องทางรวยอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่น่าสนใจ Topup2rich รวยได้จากมือถือคุณ

เพลี้ยแป้ง...มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง

Monday, September 20, 2010

เพลี้ยแป้ง…มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง
ดร.โอภาษ บุญเส็ง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
สถาบันวิจัยพืชไร่
คำนำ
           มนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ต้องก้มหน้าก้มตายอมรับสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็คือ เกิดภาวะโลกร้อนจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง โดยช่วยกันสร้างกิจกรรมที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และสารซีเอฟซีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นจึงคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิและเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งส่วนมากเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซนี้มีคุณสมบัติดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดี พื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้นหรือลดลง มีผลต่อการอยู่รอดและสภาวะการเจริญพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช โดย อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลทำให้ชีพจักรของแมลงสั้นลง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้แมลงศัตรูพืชระบาดได้ตลอดปีก็คือสภาพภูมิอากาศที่ร้อนและชื้น ดังจะเห็นได้จากการระบาดของเพลี้ยแป้ง สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อการผลิตมันสำปะหลังของประเทศอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต
ผลกระทบของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นต่อแมลงศัตรูพืช             นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ พบว่า ในสภาพที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น มีผลทำให้พืชอ่อนแอลง ไม่สามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชได้เหมือนเดิม เมื่อศึกษากลไกการตอบสนองของแมลงศัตรูพืช พบว่า การปลูกพืชในสภาวะที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง พืชจะสร้างกิจกรรมสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น แล้วนำคาร์โบไฮเดรตไปสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นร่วมกับธาตุไนโตรเจนที่ได้จากดินมากขึ้นด้วย โดย แมลงศัตรูพืชระยะตัวอ่อนต้องการธาตุไนโตรเจนไปสร้างเนื้อเยื่อใหม่ในร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้มีแมลงอพยพเข้ามากัดกินใบพืชมากขึ้น ส่วนแมลงตัวเต็มวัยอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ในสภาวะที่มีแหล่งคาร์โบไฮเดรตมากด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้ เมื่อปลูกพืชในสภาวะที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงพืชจะสูญเสียความสามารถในการสร้างฮอร์โมนจัสโมนิคแอซิด เนื่องจากฮอร์โมนนี้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสร้างสารป้องกันตัวเองของพืชเพื่อมิให้ถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืช โดย พืชจะสร้างสารที่มีฤทธิ์ไปยับยั้งเอ็นไซม์โปรติเอส เมื่อแมลงกัดกินพืชก็จะได้รับสารนี้เข้าไปจะมีผลไปยับยั้งกระบวนการย่อยใบพืชภายในกระเพาะของแมลง ทำให้แมลงศัตรูพืชกินอาหารได้น้อยลง ดังนั้น เมื่อพืชมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในใบสูง ทำให้พืชมีความสามารถในการสร้างฮอร์โมนจัสโมนิคแอซิดได้น้อยลง มีผลทำให้แมลงศัตรูพืชกินอาหารได้มากขึ้น เป็นสาเหตุให้แมลงศัตรูพืชขยายเผ่าพันธุ์ได้เร็วและดำรงชีวิตได้ดีในสภาพที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ
แมลงศัตรูพืชในมันสาปะหลัง           มันสำปะหลังเป็นพืชข้ามปีสามารถปลูกได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อน โดย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 8-24 เดือน ช่วงอายุเก็บเกี่ยวของมันสำปะหลังค่อนข้างยาวโดยต้องผ่านช่วงฤดูแล้ง การปลูกไม่ค่อยมีฤดูกาลที่แน่นอน อีกทั้งระบบการปลูกมันสำปะหลังมักจะมีพืชอื่นร่วมด้วย ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุทำให้มีความหลากหลายในชนิดแมลงศัตรูมันสำปะหลัง โดยพบว่ามีแมลงศัตรูมันสำปะหลังมากถึง 200 ชนิด จากผลการวิจัย พบว่า มันสำปะหลังมีระดับความทนทานต่อแมลงศัตรูแต่ละชนิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความเข้มข้นของการสร้างน้ำยางและไซยาไนด์ของมันสำปะหลังเอง ในอดีตที่ผ่านมามีการนำเข้าไรแดงชนิด Mononychellus tanajoa Bonder และเพลี้ยแป้งชนิด Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero จากทวีปอเมริกาใต้สู่ทวีปอัฟริกา ทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง แต่ต่อมาภายหลังก็สามารถควบคุมได้ด้วยชีววิธีหรือการใช้แมลงศัตรูตามธรรมชาติควบคุมแมลงศัตรูพืชดังกล่าว จากการสำรวจพบว่าแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในมันสำปะหลัง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง ไรแดง แมลงหวี่ขาว ปลวก แมลงนูนหลวง และด้วงหนวดยาว แต่ในที่นี้จะขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะของเพลี้ยแป้งเท่านั้น
การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสาปะหลัง
          เพลี้ยแป้งแมลงศัตรูชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง ระบาดในแถบทวีปอเมริกาใต้และทวีปอัฟริกามีมากกว่า 15 ชนิด แต่ที่พบโดยทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของทวีปอเมริกาใต้และทวีปอัฟริกามี 5 ชนิด คือ (1) Phenacoccus herreni (2) Phenacoccus manihoti (3) Phenacoccus madeirenis (4) Phenacoccus mandio และ (5) Ferrissia virgata โดย เพลี้ยแป้งชนิด Phenacoccus manihoti ได้เข้าไปแพร่ระบาดในทวีปอัฟริกาในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 ทำความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังอย่างรุนแรง แต่ก็สามารถควบคุมได้ด้วยชีววิธี คือ การใช้แมลงศัตรูตามธรรมชาติควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้ง ส่วนในทวีปอเมริกาใต้มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ในแถบประเทศปารากวัย โบลิเวีย และบราซิล แต่ไม่ทำความเสียหายต่อผลผลิตในเชิงเศรษฐกิจ
          ความซับซ้อนในการระบาดของแมลงศัตรูมันสำปะหลัง พบว่า เพลี้ยแป้งชนิด Phenacoccus herrenii ทำความเสียหายต่อการปลูกมันสำปะหลังในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล และตอนใต้ใกล้ประเทศปารากวัย แต่ไม่ทำความเสียหายต่อมันสำปะหลังที่ปลูกในเขตตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้อย่างเช่นในประเทศโคลอมเบีย และเวเนซุเอลา เนื่องจากเพลี้ยแป้งชนิดนี้ถูกควบคุม โดย แตนเบียนศัตรูตามธรรมชาติที่มีอยู่ในบริเวณนั้น ได้แก่ Apoanagyrus diversicornis, Aenasius vexans และ Acerophagus coccois ซึ่งไม่พบแตนเบียนชนิดดังกล่าวในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลและตอนใต้ใกล้ประเทศปารากวัย แต่ภายหลังได้มีการนำเข้าแตนเบียนทั้ง 3 ชนิดมาควบคุมเพลี้ยแป้งชนิดนี้ ส่วนเพลี้ยแป้งชนิด Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero ทำความเสียหายอย่างรุนแรงในประเทศที่อยู่ตอนกลางของทวีปอัฟริกา แต่ก็สามารถใช้แตนเบียนชนิด Anagyrus lopezi ควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ได้โดยใช้เวลาเกือบ 10 ปี
        สำหรับในทวีปเอเชียที่ผ่านมายังไม่มีรายงานว่ามีแมลงศัตรูพืชที่ทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับมันสำปะหลัง เนื่องจากถูกควบคุมโดยศัตรูตามธรรมชาติ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 พบว่า มีการระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพูอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงอย่างเช่นกัมพูชาและเวียดนาม โดย มีการระบาดอย่างรุนแรงทั้งในช่วงฤดูแล้งและฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนซึ่งไม่สามารถควบคุมด้วยศัตรูตามธรรมชาติจากตัวห้ำและตัวเบียนได้เหมือนที่ผ่านมาในอดีต ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการในการควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างได้ผลดี ทำให้เกษตรกรเริ่มวิตกกังวลต่อการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง โดย เกษตรกรบางรายได้หันกลับไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่นแทนเพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้ง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
          ชนิดของเพลี้ยแป้งแมลงศัตรูในมันสาปะหลัง เพลี้ยแป้งอยู่ในวงศ์ Pseudococcidae อันดับ Homoptera เป็นแมลงชนิดปากดูด (piercing-sucking type) เพลี้ยแป้งชนิดที่สำคัญที่พบระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของประเทศไทย มี 4 ชนิด ดังนี้คือ
          1. เพลี้ยแป้งตัวลาย (striped mealybug) เพลี้ยแป้งชนิดนี้พบว่าระบาดทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ที่ผ่านมามีระดับความรุนแรงไม่ถึงขั้นเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการควบคุมโดยศัตรูตามธรรมชาติอย่างสมดุลจากตัวห้ำและตัวเบียน ลักษณะเด่นของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ก็คือ ลำตัวคล้ายลิ่ม ผนังลำตัวสีเทาเข็ม มีไขแป้งปกคลุมลำตัว เส้นขนขึ้นหนาแน่น โดย ขนที่ปกคลุมลำตัวยาวและเป็นเงาคล้ายใยแก้ว มีแถบดำบนลำตัว 2 แถบชัดเจน ที่ปลายท้องมีหาง คล้ายเส้นแป้ง 2 เส้นยาวครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว
          2. เพลี้ยแป้งสีเขียว (Madeira mealybug) เพลี้ยแป้งชนิดนี้พบว่าระบาดเฉพาะบางท้องที่ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ลักษณะเด่นของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ก็คือ ลำตัวรูปไข่ ผนังลำตัวสีเขียวอมเหลือง มีไขแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้น เส้นแป้งที่ปลายส่วนท้องยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัว
         3. เพลี้ยแป้งสีชมพู (pink mealybug) เพลี้ยแป้งชนิดนี้พบว่าระบาดโดยทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ในปี พ.ศ. 2551 มีการระบาดของเพลี้ยแป้งชนิดนี้อย่างรุนแรง มีผลเสียหายทางเศรษฐกิจในทุกภาคของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ลักษณะเด่นของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ก็คือ ลำตัวรูปไข่ ผนังลำตัวสีชมพู มีไขแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้นหรืออาจไม่ปรากฏให้เห็นเลย เส้นแป้งที่ปลายส่วนท้องค่อนข้างสั้น
         4. เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ (Jack-Beardsley mealybug) เพลี้ยแป้งชนิดนี้พบว่าระบาดโดยทั่วไปในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ลักษณะเด่นของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ก็คือ ลำตัวรูปไข่ค่อนข้างแบน ผนังลำตัวสีเทาอมชมพู มีไขแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งเรียงกันจำนวนมาก เส้นแป้งที่ปลายส่วนท้องยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้างลำตัว
di1_.Dr
(ก) เพลี้ยแป้งตัวลาย
disaster_.Dr
(ข) เพลี้ยแป้งสีเขียว
di2_.Dr
(ค) เพลี้ยแป้งสีชมพู
di3_.Dr
(ง) เพลี้ยแป้งแจ็คเบียดเลย์
           ภาพที่ 1 รูปร่างเพลี้ยแป้งเพศเมียตัวเต็มวัยที่ระบาดในมันสำปะหลัง (ก) เพลี้ยแป้งตัวลาย (ข) เพลี้ยแป้งสี เขียว (ค) เพลี้ยแป้งสีชมพู และ(ง) เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียดเลย์ ลักษณะการระบาดและทาลายของเพลี้ยแป้ง
          ปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งจะพบมากในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งเป็นเวลานาน เมื่อพืชฟื้นตัวในช่วงฤดูฝนปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งก็จะลดลง จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า การระบาดของเพลี้ยแป้งจะพบปริมาณมากในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากเมื่อความต้องการน้ำของพืชถูกจำกัดลง ใบที่สร้างขึ้นในช่วงแล้ง พบว่า เป็นใบมีกระบวนการเมตาโบลิซึมสูง ทำให้ใบมีคุณค่าทางอาหารสูงด้วยเหมาะต่อสภาวะการเจริญเติบโตของเพลี้ยแป้ง หรืออาจกล่าวได้ว่าเพลี้ยแป้งชอบดูดน้ำเลี้ยงของใบที่สร้างในช่วงแล้งมากกว่าในช่วงฝน นอกจากนี้แมลงที่เป็นตัวห้ำและตัวเบียนมีปริมาณลดลงในช่วงนี้ด้วย เพลี้ยแป้งสามารถระบาดจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นได้โดยการติดไปกับคน ท่อนพันธุ์ กระแสลม และมดเป็นพาหนะนำตัวเพลี้ยแป้งไปเลี้ยงเพื่อรอดูดกินมูลหวาน ความเสียหายจากการทำลายของเพลี้ยแป้งต่อผลผลิตขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง โดย การระบาดของเพลี้ยแป้งในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต (1-4 เดือน) จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตมากกว่าระยะกลาง (4-8 เดือน) และปลายของการเจริญเติบโต (8-12 เดือน) จากรายงานที่ผ่านมา พบว่า ในประเทศโคลอมเบียผลผลิตลดลง 68-88 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศในอัฟริกาผลผลิตลดลงมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์
di4_.Dr
(ก) การติดไปท่อนพันธุ์
d5_.Dr
(ข)กระแสลม
di6_.Dr
(ค) มดเป็นพาหนะนำตัวเพลี้ยอ่อน
             ภาพที่ 2 การระบาดของเพลี้ยแป้งจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นโดย (ก) การติดไปท่อนพันธุ์ (ข)กระแสลม และ(ค) มดเป็นพาหนะนำตัวเพลี้ยอ่อนไปเลี้ยงเพื่อรอดูดกินน้ำหวาน
           ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้ง คือ การดูดน้ำเลี้ยง โดยใช้ส่วนของปากที่เป็นท่อยาว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น บางครั้งอาจพบการดูดน้ำเลี้ยงในส่วนของรากมันสำปะหลัง เพลี้ยแป้งสามารถระบาดและทำลายมันสำปะหลังในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดบังบางส่วนของใบพืช มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนในปากที่เป็นท่อยาวของเพลี้ยแป้งที่กำลังดูดน้ำเลี้ยง อาจมีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตถูกขับออกมาด้วย ทำให้ส่วนลำต้นที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง มีข้อถี่มาก มีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก โดยส่วนของยอด ใบ และลำต้นอาจแห้งตายไปในที่สุดหลังจากถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง ส่วนของลำต้นที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง มีผลทำให้ท่อนพันธุ์แห้งเร็ว อายุการเก็บรักษาสั้น โดย ให้ความงอกต่ำและงอกช้ากว่าปกติมาก เพลี้ยแป้งบางชนิดอาจเป็นพาหนะของเชื้อไวรัสเข้าสู่พืชก็ได้
di7_.Dr
(ก) ลำต้น
di8_.Dr
(ข) ใบ
di9_.Dr
(ค) ยอด
          ภาพที่ 3 การทำลายของเพลี้ยแป้งด้วยการดูดน้ำเลี้ยงโดยใช้ส่วนของปากที่เป็นท่อยาวดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วน (ก) ลำต้น (ข) ใบ และ(ค) ยอดของมันสำปะหลัง
di10_.Dr
(ก) ใบแตกเป็นพุ่มกระจุก
di11_.Dr
(ข) ลำต้นแห้งตาย
di12_.Dr
(ค) ลำต้นข้อสั้นผิดปกติ
           ภาพที่ 4 ส่วนของมันสำปะหลังที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยง มีผลให้ (ก) ส่วนยอดใบแตกเป็นพุ่มกระจุก (ข) ลำต้นแห้งตาย และ(ค) ลำต้นข้อสั้นผิดปกติ ชีวและนิเวศน์วิทยาของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งเพศเมียเต็มวัยสามารถขยายพันธุ์ได้ โดย ไม่ต้องผสมพันธุ์จากเพศผู้ มีทั้งสามารถออกลูกเป็นตัว และออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัวอ่อนได้ แต่ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ โดย วางไข่เป็นเม็ด เวลาวางไข่จะสร้างถุงไข่ไว้ใต้ท้องมีลักษณะเป็นใยคล้ายสำลีหุ้มไข่ไว้อีกชั้นหนึ่ง มีขนาดกว้าง 0.20 มิลลิเมตร ยาว 0.40 มิลลิเมตร ถุงไขมีจำนวนไข่ ตั้งแต่ 50-600 ฟอง ใช้เวลาวางไข่ 7 วัน ไข่ มีลักษณะเป็นเม็ดเดียว สีเหลืองอ่อน รูปร่างยาวรี ส่วนตัวอ่อนวัยแรกที่ฟักออกจากไข่ มีสีเหลืองอ่อน ลำตัวยาวรี สามารถเคลื่อนที่ได้ หลังจากนั้นลอกคราบ 3-4 ครั้ง ระยะตัวอ่อนใช้เวลา 18-59 วัน ตัวอ่อนมีขนาดกว้าง 1.00 มิลลิเมตร ยาว 2.09 มิลลิเมตร โดย ตัวอ่อนเริ่มมีหาง สามารถสร้างแป้งและไขแป้งสีขาวห่อหุ้มรอบลำตัวได้ สำหรับตัวเมียเต็มวัย มีลักษณะตัวค่อนข้างแบน บนหลังและรอบลำตัวมีไขแป้งปกคลุมมาก มีขนาดกว้าง 1.83 มิลลิเมตร ยาว 3.03 มิลลิเมตร และหางยาว 1.57 มิลลิเมตร ตัวเมียเต็มวัยอายุประมาณ 10 วัน สามารถวางไข่หรือออกลูกได้ ส่วนตัวผู้เต็มวัยมีปีกบินได้และหนวดยาว ขนาดกว้าง 0.45 มิลลิเมตร ยาว 1.35 มิลลิเมตร ปีกยาว 1.57 มิลลิเมตร เพลี้ยแป้งบางชนิดเท่านั้นที่ไข่พัฒนาเป็นตัวเต็มวัยเพศผู้ รวมชีพจักรเพลี้ยแป้ง ตั้งแต่ 35-92 วัน
di15_.Dr
ตัวอ่อนเพศเมีย
di16_.Dr
ตัวเต็มวัยเพศเมีย
di13_.Dr
ถุงไข่
di14_.Dr 
ไข่
di17_.Dr
ตัวอ่อนเพศผู้
di18_.Dr 
ตัวเต็มวัยเพศผู้
         ภาพที่ 5 ชีพจักรของเพลี้ยแป้งใช้เวลาโดยเฉลี่ย 60 วัน ตั้งแต่วางไข่ในถุงตั้งแต่ 50-600 ฟอง ฟักเป็นตัวอ่อน จนกลายเป็นเพลี้ยแป้งตัวเต็มวัยโดยตัวเต็มวัยเพศเมียไม่มีปีกมีจำนวนมากกว่าตัวเต็มวัยเพศผู้ที่มีปีก สามารถบินได้
พืชอาศัยและศัตรูตามธรรมชาติ
          พืชอาศัยของเพลี้ยแป้งที่ระบาดในมันสำปะหลังที่พบเห็นโดยทั่วไปในประเทศไทย ได้แก่ มะม่วงหิมพานต์ แก้วมังกร ส้ม กระถิ่น ฝรั่ง ถั่วฝักยาว ฟักทอง และพริกไทย เพลี้ยแป้งมีศัตรูตามธรรมชาติหลายชนิด ได้แก่ แมลงตัวห้ำ แมลงตัวเบียน และเชื้อโรค
           แมลงตัวเบียน หมายถึง แมลงที่เกาะกินอยู่กับเหยื่อจนกระทั่งเหยื่อตาย การเป็นตัวเบียนจะเป็นเฉพาะในช่วงที่เป็นตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะหากินแบบอิสระ ในช่วงอายุหนึ่งของแมลงตัวเบียนต้องการเหยื่อเพียงตัวเดียวเท่านั้น แมลงตัวเบียนมีหลายประเภทโดยแบ่งตามความสัมพันธ์กับเหยื่อได้ 4 ประเภท คือ พวกเบียนไข่ เบียนหนอน เบียนดักแด้ และเบียนตัวเต็มวัย แมลงตัวเบียนที่ทำลายเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ แตนเบียนชนิด Anagyrus lopezi, Acerophagus coccoi, Apoanagyrus diversicornis, Angyrus putonophilu และ Anagyrus insolitus ในประเทศเบนินอยู่แถบตอนกลางของทวีปอัฟริกามีการใช้แตนเบียนชนิด Anagyrus lopezi ควบคุมเพลี้ยแป้งชนิด Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero และแตนเบียนชนิด Apoanagyrus diversicornis, Acerophagus coccois และ Aensius vexans ควบคุมเพลี้ยแป้งชนิด Phenacoccus herreni Cox and William ที่ระบาดในมันสำปะหลังได้ผลสำเร็จมาแล้ว
di19_.Dr
(ก) Apoanagyrus lopezi
di20_.Dr
(ข) Acerophagus coccois
di21_.Dr
(ค) Aensius vexans
           ภาพที่ 6 แตนเบียนที่ทำลายเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ (ก) Anagyrus lopezi (ข) Acerophagus coccois และ (ค) Aensius vexans
           วงจรชีวิตของแตนเบียน แมลงชนิดนี้มีบทบาทในการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง มีระยะการเจริญเติบโตด้วยกัน 4 ระยะ คือ (ก) ระยะไข่ แตนเบียนเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่เรียวยาว ปลายแหลม คล้ายฉมวกขนาดจิ๋ว แทงแล้ววางไข่บนเหยื่อ ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะให้ตัวอ่อนเพศผู้ ส่วนไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะให้ตัวอ่อนเพศเมีย จำนวนตัวอ่อนที่เกิดขึ้นมักเป็นเพศผู้ส่วนใหญ่ เนื่องจากแตนเบียนเพศเมียมุ่งเน้นการวางไข่มากกว่าการผสมพันธุ์กับเพศผู้ ใช้เวลา 2 วัน (ข) ระยะตัวหนอน มี 3 วัย วัยที่ 1 ลำตัวสีขาวขุ่น ภายนอกสีใส ส่วนหัวกว้างกว่าส่วนท้ายของลำตัว ใช้เวลา 2 วัน วัยที่ 2 ลำตัวสีเหลืองทึบ ส่วนกลางกว้างกว่าส่วนหัวและท้ายของลำตัว ใช้เวลา 5 วัน วัยที่ 3 ลักษณะลำตัวคล้ายวัยที่ 2 แต่สีอ่อนกว่า ใช้เวลา 8 วัน ในระยะนี้จะเห็นตัวหนอนของแตนเบียนกัดกินเนื้อเยื่อภายในจนหมด จนเห็นตัวหนอนอยู่ที่ปลายซากของเหยื่อ (ค) ระยะดักแด้ ลำตัว ขา และหนวดมีสีขาวขุ่น ส่วนท้องมีจุดสีขาว ปีกมีสีดำ ตาโตสีดำ ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนขาและหนวดมองเห็นชัดเจน อวัยวะวางไข่ซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เป็นดักแด้ที่ไม่มีใยไหมห่อหุ้ม และ (ง) ตัวเต็มวัย ลำตัวสีแดงอ่อนถึงน้ำตาล หนวดมีความยาวมากกว่าลำตัว เพศเมียมีความยาวไม่รวมอวัยวะวางไข่ 3.6-5.4 มิลลิเมตร เพศผู้ลำตัวยาว 2.8-4.0 มิลลิเมตร ใช้เวลา 7-8 วัน วงจรชีวิตของแตนเบียนใช้เวลาประมาณ 16 วัน
di22_.Dr
(ก) ใช้อวัยวะปลายแหลมวางไข่ภายในเหยื่อ
di23_.Dr
(ข) ระยะหนอน โดยหนอนไชทะลุเยื่อออกมา
di24_.Dr
(ค) ระยะดักแด้
di25_.Dr
(ง) ระยะตัวเต็มวัย
di26_.Dr
(จ) แตนเบียนเพศเมีย
di27_.Dr
(ฉ) แตนเบียนเพศผู้
           ภาพที่ 7 ชีพจักรของแตนเบียนมี 4 ระยะ คือ (ก) ใช้อวัยวะปลายแหลมวางไข่ภายในเยื่อ (ข) ระยะหนอนเมื่อ หนอนไชทะลุเยื่อออกมา (ค) ระยะดักแด้ (ง) ระยะตัวเต็มวัย (จ) แตนเบียนเพศเมีย และ(ฉ) แตนเบียนเพศผู้
             แมลงตัวห้า หมายถึง แมลงที่กินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยจะกินเหยื่อหลายตัวจนกว่าจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิต สามารถกินเหยื่อได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตัวห้ำที่เรารู้จักทั่วไป ได้แก่ ด้วงเต่า ตั๊กแตน แมลงปอ แมลงวันดอกไม้ และมวนเพชฌฆาต
di28_.Dr
(ก) แมลงช้างปีกใส
di29_.Dr
(ข) ด้วงเต่า
di30_.Dr (ค) แมลงวันดอกไม้
(ง) มวนเพชฌฆาต
di31_.Dr
(จ) ตั๊กแตน
di32_.Dr
           ภาพที่ 8 แมลงตัวห้ำที่ทำลายเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ (ก) แมลงช้างปีกใส (ข) ด้วงเต่า (ค) แมลงวันดอกไม้ (ง) มวนเพชฌฆาต และ (จ) ตั๊กแตน
          วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใส แมลงชนิดนี้มีบทบาทในการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง มีระยะการเจริญเติบโตด้วยกัน 4 ระยะ คือ (ก) ระยะไข่ ไข่มีสีเขียวอ่อนติดอยู่ที่ปลายก้านสีขาวใส เมื่อไข่ใกล้ฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ใช้เวลา 3-5 วัน (ข) ระยะตัวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกจระเข้สีน้ำตาลอ่อน ลำตัวยาว 0.8-1.0 เซนติเมตร เป็นระยะที่ดำรงชีวิตแบบแมลงตัวห้ำ ลอกคราบ 3 ครั้ง ใช้เวลา 14 วัน (ค) ระยะดักแด้รูปร่างทรงกลมสีขาวปนเทา ใช้เวลา 7-10 วัน และ (ง) ตัวเต็มวัย ลำตัวเรียวบอบบางสีเขียวอ่อน ปีกใสโปร่งบางคล้ายลายฉลุลูกไม้ ขนาด 1.0-1.8 เซนติเมตร ใช้เวลา 30 วัน วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใสใช้เวลาประมาณ 60 วัน
di33_.Dr
(ก) ระยะไข่
di34_.Dr
(ข) ระยะตัวอ่อน
di35_.Dr
(ค) ระยะดักแด้
di36_.Dr
(ง) ตัวเต็มวัย
          ภาพที่ 9 วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใส มีการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ (ก) ระยะไข่ (ข) ตัวอ่อน (ค) ดักแด้ และ (ง) ตัวเต็มวัย
         วงจรชีวิตของแมลงด้วงเต่า แมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทในการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง มีระยะการเจริญเติบโตด้วยกัน 4 ระยะ คือ (ก) ระยะไข่ วางไข่เป็นกลุ่มเรียงกันเป็นระเบียบ สีเหลืองอ่อนคล้ายลูกรักบี้ เมื่อใกล้ฟักสีเทาปนดำ ใช้เวลา 2 วัน (ข) ระยะตัวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกจระเข้ บริเวณด้านหลังและข้างมีปุ่มหนามอ่อนยื่นออกมา มีแถบสีดำอยู่ด้านหลังลำตัว ลอกคราบ 4 ครั้ง ใช้เวลา 7-9 วัน (ค) ระยะดักแด้ เมื่อตัวอ่อนวัยที่ 4 ลอกคราบเข้าสู่ดักแด้ คราบจะถูกดันออกจากลำตัวแล้วยึดติดกับผิวของพืช ตัวสีเหลืองอมส้ม ใช้เวลา 2 วัน และ (ง) ระยะตัวเต็มวัย รูปร่างคล้ายครึ่งวงกลม ลำตัวโค้งนูน ผิวเรียบเป็นมัน สีส้ม ปีกคู่แรกมีลายหยักเป็นคลื่น ส่วนปลายปีกมีแต้มวงกลมสีดำ ขอบด้านล่างของปีกมีแถบสีดำยาวตลอดขอบของปีก ใช้เวลา 30 วัน วงจรชีวิตของแมลงด้วงเต่าใช้เวลาประมาณ 43 วัน
di37_.Dr
(ก) ไข่ (ข)
di38_.Dr
ตัวอ่อน (ค)
di39_.Dr
ดักแด้ (ง)
di40_.Dr
ตัวเต็มวัย
           ภาพที่ 10 วงจรชีวิตของแมลงด้วงเต่า มีการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย
        วงจรชีวิตของมวนเพชฌฆาต แมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทในการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง มีระยะการเจริญเติบโตด้วยกัน 3 ระยะ คือ (ก) ระยะไข่ วางไข่เป็นกลุ่ม สีเหลือง ยาวรี มีมูกสีขาวหุ้มยึดไข่รวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-230 ฟอง ใช้เวลา 7-10 วัน (ข) ระยะตัวอ่อน รูปร่างคล้ายมด ลำตัวสีส้มแดง ตัวอ่อนมี 5-6 ครั้ง ระยะแรกมักอยู่เป็นกลุ่ม เมื่อโตจะแยกออกจากกลุ่ม ก่อนเข้าสู่ตัวเต็มวัย จะมีขอบของส่วนท้องด้านข้างยื่นขยายออกมาเหนือปีก มีการเคลื่อนไหวว่องไวมาก ใช้เวลา 48 วัน และ(ค) ระยะตัวเต็มวัย เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยใหม่ มีสีแดงปนดำ เคลื่อนไหวช้า ต่อมาสีของลำตัวจะเข็มขึ้น คอยาว ลำตัวยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร เพศผู้จะมีลำตัวส่วนท้องผอมยาว ส่วนเพศเมียจะมีลำตัวอ้วนกว่า ใช้เวลา 30 วัน วงจรชีวิตของมวนเพชฌฆาต ใช้เวลาประมาณ 88 วัน
di41_.Dr
(ก) ระยะไข่
di42_.Dr
(ค) ระยะตัวเต็มวัย
di43_.Dr
(ข) ระยะตัวอ่อน
         ภาพที่ 11 วงจรชีวิตของมวนเพชฌฆาตมีระยะการเจริญเติบโต 3 ระยะ คือ (ก) ระยะไข่ (ข) ระยะตัวอ่อน และ (ค) ระยะตัวเต็มวัย
         เชื้อโรค หมายถึง เชื้อโรคที่อยู่ในกลุ่มเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แมลงตายได้ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง โดย สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้และเป็นที่รู้จักของเกษตรกรโดยทั่วไป ได้แก่ เชื้อราบิวเวอเรีย และไวรัส เอ็น พี วี เป็นต้น
        เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อรา สามารถทำลายแมลงหรือทำให้เกิดโรคกับแมลงหลายชนิด ลักษณะของเส้นใยหรือสปอร์มีสีขาวหรือสีครีมอ่อน จัดเป็นเชื้อราประเภท saprophyte อาศัยและกินเศษซากที่ผุพังในดิน เชื้อราบิวเวอเรียสามารถทำลายแมลงศัตรูพืชหลายชนิด ได้แก่ พวกเพลี้ย ไรแดง แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ปลวก และด้วง เชื้อราบิวเวอเรียใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชถูกจดทะเบียนเป็นการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถทำการผลิตขยายด้วยกระบวนการหมักและการสร้างให้อยู่ได้ในรูปทนทานต่อแสงอุตร้าไวโอเล็ต อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในสภาพธรรมชาติทั่วไป ผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรียต้องพ่นให้ครอบคลุมพื้นที่ สปอร์ของเชื้อราต้องสัมผัสกับตัวแมลงเพื่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น
        วงจรชีวิตหรือกลไกการเข้าทำลายแมลง โดย เชื้อรานี้จะผลิตสปอร์ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลงในสภาพความชื้นที่เหมาะสม โดยมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป สปอร์จะงอก แทงทะลุผ่านผนังหรือช่องว่างบนลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อของแมลง เส้นใยของเชื้อราจะเข้าสู่เนื้อเยื่อของแมลง โดย อาศัยน้ำย่อยพวกไลเปส โปรติเนส และไคติเนส เมื่อเส้นใยของเชื้อราเข้าไปอยู่ในลำตัวแมลงจะผลิตสารพิษที่เรียกว่า บิวเวอริซิน มีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของแมลงอ่อนแอลง เมื่อแมลงตายลงจะมีการผลิตสารปฏิชีวนะ ชื่อ โอโอสปอริน ที่จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้แมลง จนในที่สุดภายในตัวแมลงจะเต็มไปด้วยมวลเส้นใยของเชื้อรา เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส เส้นใยของเชื้อราเจริญเติบโตจนทั่วร่างกายของแมลงแล้ว จะสร้างลักษณะที่เรียกว่า “ดอกไม้บาน” ปรากฏให้เห็นที่ภายนอกร่างกายของแมลง เพื่อผลิตสปอร์ที่ทนทานแล้วปล่อยออกมาสู่สภาพแวดล้อม เพื่อให้ชีพจักรของเชื้อราบิวเวอเรียเป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
        แนวทางในการจัดการเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง พบว่า มีการระบาดอย่างรุนแรงชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อนในภูมิภาคนี้ โดย เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2551 แล้วขยายวงกว้างไปทั่วพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเทศไทยและประเทศใกล้เคียงอย่างกัมพูชาและเวียดนาม สาเหตุของการระบาดยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก คาดว่าจะสร้างปัญหาอย่างรุนแรงต่อการผลิตมันสำปะหลังในอนาคตอย่างแน่นอน แนวทางในการจัดการเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งไม่ง่ายเหมือนกับการจัดการเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยทั่วไป เนื่องจากเพลี้ยแป้งมีข้อจำกัดที่ลำตัวปกคลุมด้วยไขแป้ง ไข่อยู่ภายในถุงไข่ ส่วนลำต้นของมันสำปะหลังที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง จะมีข้อถี่มากและมีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุกเป็นเกราะกำบังอย่างดีให้กับเพลี้ยแป้ง ทำให้การพ่นสารเคมีค่อนข้างยากที่จะถึงตัวและไข่ของเพลี้ยแป้ง
           นอกจากนี้ การจัดการเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งด้วยสารเคมี เป็นวิธีที่อันตรายและก่อให้เกิดการทำลายล้างต่อแมลงศัตรูตามธรรมชาติอย่างแมลงตัวห้ำและตัวเบียน สุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การใช้สารเคมีควรจะเป็นวิธีสุดท้ายในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง สำหรับแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งมีด้วยกัน 5 แนวทาง โดยเริ่มต้นตั้งแต่การจัดการด้านวิธีเขตกรรม การจัดการด้านที่อยู่อาศัย การควบคุมโดยชีววิธี การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล และการควบคุมโดยสารเคมี มีรายละเอียดดังนี้
        1. การจัดการด้านเขตกรรม (cultural practices management) เป็นแนวทางวิธีปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับตัวพืช เพื่อให้พืชสามารถพัฒนาตัวเองให้ต้านทานต่อแมลงศัตรูได้ดีขึ้น มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
           การเลือกพื้นที่ปลูก ควรเลือกปลูกในดินร่วนเหนียวและดินเหนียว ซึ่งเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์และอุ้มน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและความสามารถอุ้มน้ำได้ต่ำด้วย ดังนั้น มันสำปะหลังที่ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะเสริมสร้างให้ต้นพืชมีความแข็งแรงและอวบน้ำขึ้น ซึ่งเพลี้ยแป้งมักไม่ชอบดูดน้ำเลี้ยงของใบและลำต้นที่อวบน้ำดังที่ได้กล่าวข้างต้น
           การเลือกฤดูปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่มีนาคม-พฤษภาคม เพื่อให้ช่วงระยะแรกและระยะกลางของการเจริญเติบโต (1-8 เดือน) อยู่ในช่วงฤดูฝนซึ่งมีการระบาดของเพลี้ยแป้งค่อนข้างน้อยมาก ถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายในช่วงระยะการเจริญเติบโตดังกล่าวซึ่งอยู่ในช่วงฤดูแล้ง มันสำปะหลังจะมีโอกาสพื้นตัวได้ยาก ทำให้มีผลกระทบต่อผลผลิตค่อนข้างมาก
           การเลือกพันธุ์ ปัจจุบันยังไม่มีพันธุ์ที่ทนทานต่อเพลี้ยแป้ง แต่ควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมตามชนิดของดิน โดย (1) ดินทรายร่วน ใช้พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 (2) ดินร่วนปนทราย ใช้พันธุ์ระยอง 7 ระยอง 9 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 (3) ดินร่วนปนเหนียว ใช้พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และห้วยบง 60 (4) ดินเหนียวสีน้ำตาลหรือแดง ใช้พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72 และ(5) ดินเหนียวสีดำ ใช้พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 72
          การเตรียมดิน ควรหว่านปุ๋ยอินทรีย์ก่อนเตรียมดิน อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน แล้วไถดะครั้งแรกให้ลึกในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะด้วยผาล 3 หรือผาล 4 แล้วตากดินนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อทำลายหรือลดปริมาณไข่และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งที่หลงเหลือในดิน จากนั้นก็ไถแปรเพื่อย่อยดินด้วยผาล 7 แล้วยกร่องพร้อมปลูกโดยยึดหลักการที่ว่าต้องทำให้ฐานร่องปลูกใหญ่เพียงพอ เพื่อรองรับขนาดของหัวที่โตขึ้นได้ ถ้าฐานร่องปลูกเล็กจะไปจำกัดการโตของหัว แต่ถ้าหัวโผล่พ้นดินจะมีผลทำให้หัวหยุดการเจริญเติบโตทันที โดยทั่วไป ระยะร่องปลูกควรห่างกันอย่างน้อย 1.20 เมตร ระยะต้นตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตั้งแต่ 0.80-1.20 เมตร
         การเตรียมท่อนพันธุ์ เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปราศจากโรคและแมลง อายุ 10-14 เดือน ใช้ต้นสดหรือตัดต้นกองทิ้งไว้ไม่เกิน 10 วันก่อนปลูก ความยาวของท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ไม่ควรตัดท่อนพันธุ์ยาวกว่านี้ เพราะไม่ช่วยให้มันสำปะหลังโตและคลุมวัชพืชได้เร็วขึ้น การตัดท่อนพันธุ์ควรใช้เลื่อยที่คมตัดเป็นหมัด หรือใช้มีดที่คมตัดทีละต้น โดย ตัดแบบตรงหรือตัดแบบเฉียงก็ได้ หลังจากนั้นควรแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม (25%WG) หรือ อิมิดาโคลพริด (70%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน (10%WG) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นานประมาณ 5-10 นาที นำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งก่อนนำไปปลูก สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้ และยังป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งหลังปลูกได้อีกประมาณ 1 เดือน
          เทคนิคการปลูก หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้วไม่ควรรบกวนดินหรือรบกวนให้น้อยครั้งที่สุด การรบกวนดินมีผลทำให้ดินแน่นซึ่งจะไปจำกัดการแพร่กระจายของรากและการลงหัวของมันสำปะหลัง นอกจากนี้ยังไปรบกวนการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดินด้วย ดังนั้น การกระตุ้นให้มันสำปะหลังแตกทรงพุ่มใบเพื่อคลุมวัชพืชได้เร็ว ด้วยการรองพื้นก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 ร่วมกับการพ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนงอกและการให้น้ำในช่วงแรกของการเจริญเติบโต
            การกาจัดวัชพืช หลังจากปลูกมันสำปะหลังเสร็จแล้ว พ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนงอก โดย ไม่ควรเกิน 3 วันหลังจากปลูก หรือพ่นสารเคมีคุมวัชพืชก่อนที่ตาของท่อนปลูกจะงอก สารเคมีประเภทคุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น เพราะต้องมีความชื้นของดินเป็นตัวนำพาสารเคมีไปสู่เมล็ดวัชพืช และไม่มีเศษวัชพืชขัดขวางการแพร่กระจายของสารเคมี หลังจากการพ่นสารเคมีประเภทคุมวัชพืชก่อนงอกแล้ว ถ้ามีวัชพืชขึ้นอีกต้องใช้สารเคมีประเภทฆ่าหลังวัชพืชงอก สารเคมีประเภทฆ่าโดยเฉพาะห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่เพราะมีผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
          การใส่ปุ๋ย ต้องใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับมันสำปะหลัง โดย ปุ๋ยเคมีต้องใช้ในขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีควรเลือกใช้อัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน โดย ใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก หรือแบ่งใส่ด้วยการรองก้นหลุมก่อนปลูก และใส่อีกครั้งเมื่ออายุ 1-2 เดือนหลังปลูก ส่วนปุ๋ยอินทรีย์แนะนำให้ใช้รองพื้นหรือรองก้นหลุมปลูก โดย ในดินทรายร่วนและดินร่วนปนทราย ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ ดินร่วนปนเหนียว ดินเหนียวสีน้ำตาลหรือแดง และดินเหนียวสีดำ ใช้อัตรา 1 ตันต่อไร่ สำหรับปุ๋ยชีวภาพแนะนำให้ใช้ พด.12 อัตราการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อ 300 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถทำปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อได้ โดย ใช้ปุ๋ยหมัก 300 กิโลกรัม รำข้าว 3 กิโลกรัม ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 จำนวน 1 ซอง หนัก 100 กรัม คลุกเคล้ารวมกันโดยมีความชื้นพอเหมาะ ใช้เวลาในการขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ 4 วันก็สามารถนำไปใช้ได้ โดย การใช้ปุ๋ยชีวภาพสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ได้ถึง 30-50 เปอร์เซ็นต์
         2. การจัดการด้านที่อยู่อาศัย (habitat management) เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงตัวห้ำและตัวเบียนที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นตามธรรมชาติ โดย การให้น้ำพืชเพื่อสร้างสภาพที่อยู่อาศัยที่ดี การปลูกพืชหมุนเวียน ตลอดจนการสร้างแนวพืชป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง เพื่อควบคุมปริมาณเพลี้ยแป้งให้อยู่ในระดับที่สมดุลระหว่างเพลี้ยแป้งกับศัตรูตามธรรมชาติ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
          การให้น้ำ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับแมลงตัวห้ำและตัวเบียนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ไม่เหมาะสมกับแมลงศัตรูพืชอย่างเพลี้ยแป้ง โดยพบว่าแมลงตัวห้ำและตัวเบียนมีปริมาณลดลงในช่วงแล้ง ดังนั้น ควรให้น้ำในช่วงแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายน เพื่อทำให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโตในช่วงแล้ง โดยตามธรรมชาติใบที่สร้างขึ้นในช่วงที่พืชอยู่ในสภาพขาดน้ำหรืออยู่ในช่วงแล้ง พบว่า เป็นใบมีกระบวนเมตาโบลิซึมสูง ทำให้ใบมีคุณค่าทางอาหารสูงเหมาะต่อสภาวะการเจริญพันธุ์ของเพลี้ยแป้ง หรืออาจกล่าวได้ว่าเพลี้ยแป้งชอบดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่สร้างขึ้นในช่วงแล้งมากกว่าในช่วงฝน
        การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการปลูกพืชต่างชนิดกันบนพื้นที่เดี่ยวกันหมุนเวียนกันไป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูพืชเป็นเวลานาน และเป็นการตัดวงจรชีพจักรของแมลงศัตรูพืชด้วย จึงเป็นการควบคุมเพลี้ยแป้งซึ่งเป็นแมลงที่มีการเคลื่อนที่ไม่ไกลและมีชนิดของอาหารจำกัด นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน และป้องกันการชะล้างพังทลายของดินด้วย ชนิดของพืชหมุนเวียนอาจแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ (1) พืชพิทักษ์ดิน ใช้คลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วบางชนิด เช่น ถั่วลาย (2) พืชบำรุงดิน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วทั่วไป เช่น ปอเทือง ถั่วพร้า และ โสนอัฟริกา (3) พืชผลาญดิน เป็นพืชที่ปลูกขึ้นเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และถั่วเหลือง
         การสร้างแนวพืชป้องกัน เป็นการปลูกพืชเพื่อสร้างแนวกำแพงป้องกันแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชหลัก อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ (1) สร้างและฟื้นฟูป่าท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายในระบบนิเวศน์ของแมลงศัตรูตามธรรมชาติ ได้แก่ การสร้างป่าเศรษฐกิจชุมชน (2) การปลูกพืชที่ผลิตสารที่แมลงศัตรูพืชไม่ชอบ ได้แก่ ตะไคร้หอม พริก ดาวเรือง และกระเทียม และ (3) การปลูกพืชเป็นแนวกำแพงกั้นศัตรูพืชที่ถูกแพร่ระบาดโดยกระแสลม ได้แก่ ยางพารา สะเดา
         3. การควบคุมโดยชีววิธี (biological pest control) เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำหนด โดย มีแนวทางการใช้แมลงช้างปีกใสร่วมกับการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยต้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูงและอุณหภูมิต่ำกว่าปกติด้วย ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรง ควรใช้เชื้อราบิวเวอเรียพ่นกำจัดเพลี้ยแป้งก่อน 3 ครั้ง ระยะห่างครั้งละ 7 วัน หลังจากนั้น 10 วัน จึงปล่อยแมลงช้างปีกใสเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่หลงเหลืออยู่ในแปลงอีก มีรายละเอียดการปฏิบัติดังนี้
          แมลงช้างปีกใส เป็นแมลงตัวห้ำชนิดหนึ่งที่สามารถทำลายแมลงศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะเพลี้ยแป้ง เป็นแมลงขนาดตัวเล็ก ตัวเต็มวัยมีสีเขียวอ่อน ปีกใส มีหนวดยาว กินน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสเป็นตัวห้ำช่วยควบคุมประชากรของเพลี้ยแป้ง ใช้เขี้ยวที่แหลมคมจับเหยื่อ ดูดกินเป็นอาหารจนเหยื่อแห้ง แล้วเก็บซากของเหยื่อไว้บนหลังเพื่ออำพรางตัวเอง กินเหยื่อได้ประมาณ 60 ตัวต่อชั่วโมง โดย สามารถนำแมลงช้างปีกใสมาเลี้ยงและขยายพันธุ์เพื่อใช้ควบคุมเพลี้ยแป้งได้ดี ควรปล่อยแมลงช้างปีกใสในไร่มันสำปะหลังตั้งแต่ระยะตัวอ่อนวัยที่สองถึงตัวเต็มวัยในอัตรา 800-1,000 ตัวต่อไร่
        การผลิตขยายพันธุ์แมลงช้างปีกใส โดย ใส่เพลี้ยแป้งน้อยหน่าและไข่ของแมลงช้างปีกใสลงไปบนลูกฟักทอง หลังจากนั้น นำลูกฟักทองสำเร็จรูปที่มีทั้งเพลี้ยแป้ง ไข่และตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส มาวางใส่ในตะกร้าพลาสติกทรงกว้าง วางให้ติดกับลูกฟักทองผลสดที่เตรียมใช้เป็นวัสดุเพาะขยายแมลงช้างปีกใส ปิดฝาตะกร้าด้วยผ้าขาวบาง เก็บในที่ร่มที่ปราศจากมดและแมลงอื่นรบกวน ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพลี้ยแป้งจะขยายเต็มลูกฟักทองทั้งหมด โดย ขณะนั้นไข่ของแมลงช้างปีกใสจะกลายเป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถนำตัวเต็มวัยไปปล่อยในมันสำปะหลังได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ห้ามนำผลฟักทองที่เริ่มยุบแล้วไปทิ้งในไร่มันสำปะหลังที่ยังไม่มีเพลี้ยแป้งระบาดอยู่ และห้ามใช้เพลี้ยแป้งจากมันสำปะหลังแต่ควรใช้เพลี้ยแป้งจากน้อยหน่าหรือพืชอื่น มาเพาะขยายบนผลฟักทองเพื่อใช้เป็นอาหารของแมลงช้างปีกใส
          เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืช การใช้เชื้อราบิวเวอเรียกำจัดเพลี้ยแป้ง โดย เพลี้ยแป้งจะตายภายใน 3-14 วัน การใช้ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ (1) เชื้อราบิวเวอเรียค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดดและอุณหภูมิที่สูง ต้องพ่นให้ถูกตัวเพื่อสปอร์ของเชื้อราจะได้สัมผัสกับตัวแมลงเพื่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น เชื้อราจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง ดังนั้น ควรพ่นเชื้อราในช่วงเย็นถึงค่ำในขณะที่สภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง สภาพอากาศแห้งแล้งมีผลทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อราบิวเวอเรียลดลง โดย ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ เชื้อราจะหยุดการเจริญเติบโต (2) ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อราบิวเวอเรียที่ขายกันตามท้องตลาด ควรอ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามวิธีการใช้ที่ระบุในฉลากอย่างเคร่งครัด (3) ถ้าเป็นเชื้อราบิวเวอเรียชนิดสดที่ผลิตขึ้นใช้เอง ใช้ก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัมหรือ 2 ถุง ผสมน้ำ 20-30 ลิตร โดย นำก้อนเชื้อใส่ถุงตาข่ายเขียว ขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพด กรองเมล็ดข้าวโพดออกทิ้ง นำน้ำที่ได้ผสมกับสารจับใบ แล้วคนให้เข้ากันเพื่อใช้พ่นกำจัดเพลี้ยแป้ง และ(4) เชื้อราบิวเวอเรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ดังนั้น ถ้าพบแมลงตัวห้ำและตัวเบียนของเพลี้ยแป้ง ควรงดหรือชะลอการพ่นออกไป
           การผลิตเชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชโดยเฉพาะข้าวโพด สามารถผลิตเชื้อนี้ใช้เองได้ มีขั้นตอนดังนี้ (1) นำเมล็ดข้าวโพดที่ไม่คลุกสารเคมีหรือสารกำจัดเชื้อรา นำมาล้างให้สะอาด แล้วแช่น้ำประมาณ 1 คืน หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที นำมาผึ่งแดดให้หมาดน้ำ (2) กรอกเมล็ดข้าวโพดใส่ถุงพลาสติกก้นจีบชนิดทนร้อน ประมาณ 0.5 กิโลกรัม ใส่คอขวดจุกด้วยสำลีให้แน่นปิดทับด้วยอลูมิเนียมฟอยด์หรือกระดาษรัดด้วยยางวง (3) นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน ที่อุณหภูมิ 121 องสาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที ถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง ใช้เวลานาน 2 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นอีกประมาณ 30 นาที จึงเปิดฝาหม้อออก (4) นำถุงข้าวโพดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อโรคมาวางให้อุ่นเพื่อนำไปเขี่ยเชื้อ ก่อนเขี่ยเชื้อต้องทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อ ร่างกาย มือ และแขน ด้วยแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ และเปิดแสงไวโอเล็ตหรือแสงยูวีฆ่าเชื้อโรคนาน 15 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับตะเกียง เข็มเขี่ยเชื้อ ไฟแช็ค แก้วบรรจุแอลกอฮอล์ (5) ปิดแสงยูวีแล้วเปิดไฟปกติ เพื่อเตรียมเขี่ยเชื้อเข้าไปในถุงเมล็ดข้าวโพด แล้วนำถุงออกจากตู้เพื่อทำการบ่มเชื้อ และ(6) การบ่มเชื้อ นำถุงข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้ ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพดใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถ้าเก็บรักษาเชื้อที่เดินเต็มแล้วในร่ม อุณหภูมิปกติเก็บได้นาน 20-30 วัน แต่ถ้าเก็บรักษาในตู้เย็นซึ่งมีอุณหภูมิราว 7-10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 3 เดือน
          4. การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล (biopesticides and physical control) เป็นการนำสารธรรมชาติจากพืชโดยได้มาด้วยการนำพืชมาสกัดเพื่อหาสารออกฤทธิ์ที่มีศักยภาพในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อย่างเช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม โล่ติ๊น ขมิ้นชัน หนอนตายหยาก พริกไทย โหระพา เป็นต้น ซึ่งสารสกัดจากพืชเหล่านี้ ไม่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิต ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอดจนสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การใช้วิธีควบคุมเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีกลอย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกลมีรายละเอียดในการปฏิบัติดังนี้
          การใช้น้าหมักชีวภาพด้วยสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด. 7 ใช้กำจัดเพลี้ยแป้งซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ค้นคิดโดยกรมพัฒนาที่ดิน ด้วยการนำพืชสมุนไพร 3 ชนิด คือ ยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก มาหมักกับสารเร่งเชื้อ พด. 7 ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 ชนิด คือ (1) ยีสต์ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร (2) แบคทีเรียชนิดผลิตกรดแลคติค ทำหน้าที่ป้องกันการปนเปื้ยนจากจุลินทรีย์ภายนอก ทำให้สามารถเก็บน้ำหมักชีวภาพได้นาน (3) แบคทีเรียชนิดผลิตกรดอะซีติค ทำหน้าที่ผลิตกรดน้ำส้ม ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการสกัดสารออกฤทธิ์จากสมุนไพร การทำน้ำหมักชีวภาพดังกล่าวด้วยสารเร่งเชื้อจุลินทรีย์ พด.7 โดยใช้สมุนไพรสับให้ละเอียด จำนวน 30 กิโลกรัมจากยาสูบ หนอนตายหยาก และพริก ผสมกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม สารเร่งพด.7 จำนวน 1 ซอง ใส่น้ำ 50 ลิตร ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในร่ม ใช้เวลาหมัก 20 วัน วิธีใช้น้ำหมักชีวภาพดังกล่าว โดย ใช้พ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วันในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง
         การใช้วิธีกลในการป้องกันและกาจัดเพลี้ยแป้ง ควรใช้วิธีการจัดการด้านท่อนพันธุ์ให้ปราศจากเพลี้ยแป้งร่วมกับการกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอนและไถทิ้ง มีรายละเอียดดังนี้
          1. การจัดการด้านท่อนพันธุ์ให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง โดย ห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ออกจากแหล่งที่มีการระบาดเพลี้ยแป้ง เวลาปลูกควรคัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และไม่มีเพลี้ยแป้งติดมา ก่อนปลูกนำท่อนพันธุ์มาแช่น้ำสะอาดประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อทำลายเพลี้ยแป้งที่ปะปนติดมากับท่อนพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถทำลายถุงไข่ของเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้
           2. การกำจัดเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังด้วยวิธีการถอน ตัดยอด หรือไถทิ้ง โดยพิจารณาวิธีกำจัดเพลี้ยแป้งตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ดังนี้ (1) ช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 1-4 เดือน ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งน้อยให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออกเพื่อให้มีการแตกยอดใหม่ แล้วนำส่วนดังกล่าวมาเผาทำลายทิ้ง แต่ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ถอนต้นกองรวมกันแล้วเผาทำลายทิ้ง ไถดะตากหน้าดินอย่างน้อย 1 เดือน ปลูกพืชนิดอื่นทดแทนเพื่อตัดวงจรชีพจักรของเพลี้ยแป้ง ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด และพืชตระกูลถั่ว (2) ช่วงระยะกลางของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 4-8 เดือน ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งให้ตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งออก แล้วนำส่วนดังกล่าวมารวมกันเผาทำลายทิ้ง (3) ช่วงระยะปลายของการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 8 เดือนขึ้นไป ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งให้ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังทันที แล้วไถดะตากหน้าดินเพื่อทำลายเพลี้ยแป้งและไข่ จากนั้นเตรียมการปลูกมันสำปะหลังในฤดูกาลต่อไป
         5. การควบคุมโดยสารเคมี (synthetic pesticide) เป็นวิธีสุดท้ายในการแนะนำให้ใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์และระบาดในไร่มันสำปะหลัง เนื่องจากการใช้สารเคมีจะทำให้ระบบนิเวศน์เกษตรสูญเสียความสมดุลไป โดยทำลายทั้งเพลี้ยแป้งและศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีควรใช้เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยแป้งอย่างรุนแรง โดยที่แมลงศัตรูธรรมชาติไม่อาจควบคุมการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ ควรพ่นสารเคมีเฉพาะบริเวณที่ระบาดอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันมิให้เพลี้ยแป้งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นอีก หรือใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ สารเคมีที่ใช้กำจัดเพลี้ยแป้งได้ผลดีมีดังนี้
          การใช้สารเคมีกาจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ ควรแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม (25%WG) หรือ อิมิดาโคลพริด (70%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน(10%WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นานประมาณ 5-10 นาที นำไปผึ่งลมในที่ร่มให้แห้งก่อนนำไปปลูก สามารถฆ่าเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ได้ และยังป้องกันการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งหลังปลูกได้อีกประมาณ 1 เดือน
          การใช้สารเคมีกาจัดเพลี้ยแป้งที่ระบาดในไร่มันสาปะหลัง ควรพ่นสารเคมีให้ถูกตัวเพลี้ยแป้งที่อยู่ใต้ใบ หรือยอดที่แตกใบเป็นกระจุก ควรพ่นสารเคมีติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เนื่องจากการพ่นสารเคมีเพียงครั้งเดียวไม่สามารถกำจัดไข่และตัวอ่อนที่อยู่ในถุงไข่ได้ สารเคมีที่ใช้มีดังนี้
           1. ไทอะมีโทแซม ชื่อการค้าแอคทาราหรือแอมเพล (25%WG) อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
           2. ไดโนทีฟูแรน ชื่อการค้าสตาร์เกิล (10%WP) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
          3. โปรไทโอฟอส ชื่อการค้าโตกุไธออน (50%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
         4. พิริมิฟอสเมทิล ชื่อการค้าแอคทาลิก (50%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
         5. ไทอะมีโทแซม/แลมบ์ดาไซฮาโลทริน ชื่อการค้าเอฟโฟเรีย (24.7%ZC) อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
          การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง สามารถใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยแป้งชนิดใดชนิดหนึ่งใน 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น โดย ลดอัตราลงครึ่งหนึ่งผสมกับสารฆ่าแมลงไวท์ออยล์ (67%EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากไม่มีสารฆ่าแมลงไวท์ออยล์ให้ใช้สารเคมีฆ่าเพลี้ยแป้งชนิดใดชนิดหนึ่งในอัตราที่กำหนด
         บทสรุป
        ในอดีตของการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย มักไม่พบปัญหามหันตภัยจากแมลงศัตรูพืชอย่างเพลี้ยแป้งที่เกิดระบาดขึ้นอย่างรุนแรงและครอบคลุมพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังอย่างเช่นในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเกิดความสมดุลในเชิงระบบนิเวศน์เกษตร ทำให้เกิดการควบคุมประชากรจากแมลงศัตรูตามธรรมชาติกับแมลงศัตรูพืชด้วยกันเอง แต่ต่อมาภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงด้วยน้ำมือของมนุษย์ที่ช่วยกันปลดปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์มักเรียกกันว่า “เรือนกระจก” ส่งผลให้โลกร้อนและมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงและเมตาโบลิซึมของพืช ตลอดจนสภาวะการเจริญพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งที่ระบาดอย่างรุนแรงในมันสำปะหลัง คาดว่าจะเป็นปัญหาต่อการผลิตมันสำปะหลังในอนาคตอย่างแน่นอน
        สำหรับแนวทางในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง ต้องเริ่มต้นจากการจัดการด้านวิธีเขตกรรมก่อนแล้วตามด้วยการจัดการด้านที่อยู่อาศัย การควบคุมโดยชีววิธี การควบคุมโดยสารสกัดชีวภาพและวิธีกล และการควบคุมโดยสารเคมีซึ่งควรจะเป็นวิธีการสุดท้ายที่จะนำมาใช้เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง แต่ผู้เขียนมั่นใจว่าแนวทางในการควบคุมและกำจัดเพลี้ยแป้งที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือ การสร้างพันธุ์มันสำปะหลังที่ทนทานต่อเพลี้ยแป้ง และการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติอย่างตัวห้ำและตัวเบียน เพื่อใช้กำจัดเพลี้ยแป้งที่ใช้ได้ผลสำเร็จมาแล้วในประเทศที่อยู่ในตอนกลางของทวีปอัฟริกา ดังนั้น นักวิจัยไทยที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจะได้เดินก้าวพ้นมหันตภัยจากเพลี้ยแป้งได้อย่างยั่งยืน
บรรณานุกรม
        อรุณี วงษ์กอบรัษฏ์. 2537. แนวทางการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูมันสำปะหลัง. หน้า 163-172 ใน
       เอกสารวิชาการมันสำปะหลัง ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร . Bellotti, A.C. 2001. Arthropods pests, pp. 209-235. In R.J. Hillocks, J.M. Thresh and A.C. Bellotti (eds.). Cassava: Biology, Production and Utilization, CIAT, Cali, Colombia. Harren, H.R. and Neuenschwander, P. 1991. Bio-logical control of cassava pests in Africa Annual Review of Entomology 36: 257-283. Henry, G. and Gottret, M.V. 1995. Global Cassava Sector Trends : Reassessing the Crop’s Future, CIAT, Cali, Colombia. Lohr, B. and Varela, A.M. 1 990. Exploration for natural enemies of the cassava mealybugs Phenococcs manihoti (Homopera: Pseudococcidea) in South America for the biological control of this introduced pest in Africa. Bulletin of Entomological Research 80:417-425. Williams, D.J. and Granara de Willink, M.C. 1992. Mealybugs of Central and South America. CAB International, Wallingford
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
ดร.โอภาษ บุญเส็ง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง
สถาบันวิจัยพืชไร่
สุขภาพดี พืชสวย รวยกับเจริญโอสถ ดูที่นี่