การปลูกมะนาว

Sunday, January 16, 2011


คำนำ
      มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่ง ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย โดยแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่
PictG01

      มะนาว จัดได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่ง ที่ตลาดมีความต้องการสูง ตลอดทั้งปี และจากอัตราการเพิ่มของพลเมือง และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม ค่อนข้างสูง รวมทั้งการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีการนำมะนาวมาใช้เป็นวัตถุดิบ อีกมากมาย จึงทำให้มะนาวมีบทบาทสำคัญ ทางการค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติ คือมีราคาลูกละ 3-4 บาท ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงฤดูแล้งจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดน้อย ดังนั้น จึงทำให้มีผู้สนใจหันมาปลูกมะนาวนอกฤดูกันมาก

พันธุ์
      พันธุ์มะนาวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และปลูกกันในประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้แก่
      1. มะนาวหนัง ผลอ่อน มีลักษณะกลมยาว หัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ ผลจะมีลักษณะกลม ค่อนข้างยาว มีกลมมนบ้าง เล็กน้อย ด้านหัว มีจุกเล็ก ๆ มีเปลือกค่อนข้างหนา จึงทำให้ เก็บรักษาผลไว้ได้นาน
PictG02
      2. มะนาวไข่ มีขนาดและลักษณะ คล้ายมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง ผลอ่อนมีลักษณะ กลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ ผลจะมีลักษณะ กลมมนเป็นส่วนมาก เปลือกบาง ผลโตกว่า มะนาวหนัง
PictG03
      3. มะนาวแป้น เป็นมะนาวที่สามารถ ให้ดอกออกผลตลอดปี ผลมีขนาดกลาง ทรงผลแป้น เปลือกบาง มีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์แป็นรำไพ แป้นทราย เป็นต้น
PictG04
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
     มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิต ไม่ว่าจะเป็น ดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาว ให้เจริญงอกงามดี มี ผลดก และคุณภาพดี ก็ควรจะปลูกในพื้นท ี่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบาย น้ำดี มีอินทรียวัตถุผสม อยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ที่อยูใกล้แหล่งน้ำ
การเตรียมพื้นที่ปลูก
     1. พื้นที่ลุ่ม เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินใหัมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูงโดยให้อยู่สูงกว่า แนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อ ระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5X5 เมตร 2. พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4 x 4 - 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิธีการปลูก
     ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ควรขุดหลุมปลูก ให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกัน ในหลุมให้ สูงประมาญ 2 ใน 3 ของหลุม ยกถุงกล้า ต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่า ระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดที่คม กรีดถุง จากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้ายและขวา)
PictG05
     ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก หาวัสถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การปฏิบัติดูแลรักษา
1. การให้น้ำ      ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ ในช่วง ที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหา วัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น
PictG06
     ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอก เพื่อให้มะนาวสะสม อาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ของผล
2. การใส่ปุ๋ย      2.1 หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดิน กำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำ ตามเพื่อ ให้ปุ๋ยละลาย
PictG07 
     2.2 เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ 2 ปี ก็เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ ของตน และเมื่อมะนาว อายุย่างเข้าปีที่ 3 ก็จะเริ่มให้ผลผลิต      2.3 ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น 3. การกำจัดวัชพืช      การกำจัดวัชพืชในสวนมะนาวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทำให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ 4. การค้ำกิ่ง      เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทำได้ 2 วิธี คือ           1. การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่าม สอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้           2. การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก 5. การตัดแต่งกิ่ง      เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดกปราศจากการทำลายของโรคและแมลง การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้
โรคที่สำคัญของมะนาว
1. โรคแคงเกอร์      ลักษณะอาการ      จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม
PictG08
     ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะ แตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างธองแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวน ล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด      การป้องกันกำจัด      ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน
2. โรคราดำ      ลักษณะอาการ      ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น      การป้องกันกำจัด      ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภท ปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ
PictG09
PictG10
3. โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว)      ลักษณะอาการ      ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม      การป้องกันกำจัด      ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสีและ แมกนีเชียม ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5
PictG11  PictG12
4. โรคยางไหล      ลักษณะอาการ      มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้      การป้องกันกำจัด      ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย
PictG13
5. โรครากเน่าและโคนเน่า      ลักษณะอาการ      รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น      การป้องกันกำจัด      อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
PictG14
แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. หนอนชอนใบ      ลักษณะอาการ      จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตก ใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมอง เห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติตผล
ศัตรูที่สำคัญของมะนาว15
     การป้องกันกำจัด      หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกำหนด
2. หนอนกินใบ (หนอนแก้ว)      ลักษณะอาการ      กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว      การป้องกันกำจัด      หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสีย ฉีดพ่นสารเคมีกำจัตแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น
หนองกินใบมะนาว16
3. เพลื้ยไฟ      ลักษณะอาการ      จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาด จะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะ ปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล      การป้องกันกำจัด      เด็ดผลที่แคระแกร็น ถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟน เปอร์เมทริน
4. ไรแดง      ลักษณะอาการ      ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด      การป้องกันกำจัด      ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้
ไรแดง17
ไรแดง18
การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู
     การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ จะทำให้ต้นมะนาวไม่โทรมเร็วเกินไปควรปฎิบัติดังนี้ กันยายน : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:3:3 เช่นปุ๋ยสูตร 8:24:24 เพื่อบำรุงให้ใบแก่เร็วขื้น และเก็บอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป ตุลาคม : งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร จนเมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมจึงค่อยให้น้ำเต็มที่ พฤศจิกายน : มะนาวเริ่มออกดอก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กำจัดแมลง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกจะเริ่มบาน และเริ่ม ติดผล ควรป้องกันกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย ธันวาคม : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 เพื่อบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์ กุมภาพันธ์เป็นต้นไป : ผลมะนาวจะเริ่มโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง ในระยะแรก จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเตือนเมษายน ผลมะนาวก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และ พร้อมสำหรับการผลิตมะนาวนอกฤดูในปีต่อไป
การเก็บเกี่ยว
     การเก็บผลมะนาว ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บ โดยใช้มือปลิด แต่ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีด หรือตะขอผูกติด กับด้ามไม้รวกยาว ๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา       แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวาย ในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลือง เล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
     วิธีการเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นาน ต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาว ที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดและบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาด ต้องการ
ปฏิทินปฏิบัตดูแลรักษามะนาว
 
ม.ค.-ก.พมี.ค.-เม.ย.พ.ค.-ก.ค.ส.ค.-ต.ค.พ.ย.-ธ.ค.
ออกใบอ่อนออกช่ออ่อนผลเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวผลผลิตตัดแต่งกิ่ง
ฉีดพ่งสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงฉีดพ่งสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงให้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21-ใส่ปุ๋ยคอกและเคมีสูตร 15-15-15
ให้น้ำสม่ำเสมอให้น้ำสม่ำเสมอฉีดพ่งสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง--
-ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15---
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน
ขอเชิญผู้มีมีจิตศรัทธาร่วมทำบุญกับสมาคมชาวพุทธกาฬสินธุ์ คลิ๊กที่นี่
         สุดยอดการทำการเกษตรแบบเพิ่มรายได้หลายต่อ คลิ๊กที่นี่