การปลูกยางพารา

Monday, November 29, 2010

การปลูกยางพาราให้ประสบผลสำเร็จ

ยางสวย
ปลูกยางอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ
     ยางพารา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อหวังผลผลิตในระยะยาว จนอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป หากเกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแต่เกษตรกรเองที่ต้องสูญเสียเงินที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเวลาและโอกาสแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างน่าเสียดาย การปลูกยางเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วัสดุปลูก วิธีการปลูกตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชคลุม การตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ
     คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การปลูกสร้างสวนยางเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง เสียก่อน เพราะปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
เกษตรกรจึง ควรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โดยให้พิจารณาในเรื่องของดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศา
ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี
หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าว นอกจากต้นยางจะเจริญเติบโตไวแล้ว ยังให้ผลผลิตสูงและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง
สวนยางที่เพิ่งปลูกใหม่และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
     การแก้ไข เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าจะปลูกยางให้ประสบผลสำเร็จสูง เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโต เปิดกรีดได้เร็วขึ้นนั้น มีขั้นตอนการปลูกยาง ดังนี้
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
     โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
     กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
     ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
      ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
วิธีปลูกยางพารา
       การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
      น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้
      การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วยต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
      คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย
      หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181, 522, 501 ได้ในเวลาราชการ
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
คุณ พรรณพิชญา สุเสวี
เทคโน
วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 450
พบกับผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับยางและวิธีทำเงินสองต่อง่ายๆกับเราที่ 0892083459

พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกร
พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่ ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)
พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235  
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121 
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
       ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่น อยู่ในบริเวณห่างจากลำต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การ ดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณ ที่มีรากดูดอาหาร หนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลม รอบลำต้น ส่วนต้นยาง ที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว ไปให้แถวยาง ห่างจากโคน ต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่าง จากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยาง ที่เปิดกรีด แล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
บริเวณที่ใส่ปุ๋ยให้ต้นยางก่อนเปิดกรีด
โรคและแมลงศัตรูยางพารา
1. โรครากขาว
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่
ลักษณะอาการ
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน
การป้องกันและรักษา
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด
โรครากขาวได้
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย

2. โรคเส้นดำ
Picture30
ยางพาราหน้ายางตาย
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น
ลักษณะอาการ
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้
การป้องกัน
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา
การรักษา
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย

3. โรคเปลือกเน่า
Picture27
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้
ลักษณะอาการ
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ
การป้องกัน
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น

4. โรคเปลือกแห้ง
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย
ลักษณะอาการ
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา
การป้องกันและรักษา
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก

5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า
 Picture26
ลักษณะอาการ
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย
การป้องกันและรักษา
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น

6. ปลวก
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู
การป้องกันและรักษา
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง

7.   หนอนทราย
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้ สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย

8. โคนต้นไหม้
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย
การป้องกันและรักษา
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล

9. อาการตายจากยอด
 Picture29
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี
ลักษณะอาการ
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน
การป้องกันและรักษา
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

ธุรกิจง่ายๆถูกต้องตามกฏหมายที่ชาวไร่ก็มีเงินเดือนได้คลิ๊กที่นี่หรือโทร 0892083459
พบกับผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับยางและวิธีทำเงินสองต่อง่ายๆกับเราที่ 0892083459

แนะนำช่องทางรวยอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่น่าสนใจ Topup2rich รวยได้จากมือถือคุณ